กำลังโหลด

    กระทู้ที่ 0030
หวัดดีเพื่อนนวย
ตั้งกระทู้ใหม่

รบกวนช่วยตรวจคำตอบนี้ให้หน่อยน่ะครับตอบ: 8, อ่าน: 5707, แท็ก: อธิบาย, เซต

กำหนด A = { เซตว่าง, 0, 2, 4, {เซตว่าง}, {0}, {0,2} }
จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ ว่าถูกหรือผิด

...ในหนังสือเฉลยว่า
1. {0,2} เป็นสับเซตของ P(A)
ผิด เพราะ 0,2 ไม่เป็น สับเซตของ A

2. {{เซตว่าง},2} เป็นสับเซตของ P (A)
ผิด เพราะ 2 ไม่เป็นสับเซตของ A  แต่ {เซตว่าง} เป็นสับเซตของ A


จาก  คู่มือสาระการเรียนรู้คณิต ฉบับศึกษาด้วยตนเอง เล่ม 1
อาจารย์ ธนวัฒน์ (สันติ) สนทราพรพล เรื่องเซต หน้า 13


รบกวนผู้รู้ด้วยน่ะครับ
อ่านแล้วมันขัดแย้ง  ยังไงไม่รู้


แดน 28/01/48 19:37 

ข้อความนี้อาจมี html tag ที่ไม่อนุญาตให้แสดง
ถูกแล้วครับ

{0,2} ไม่เป็นสับเซตของ P(A)
เพราะว่าทั้งเลข 0 และเลข 2 ไม่อยู่ใน P(A) เลย

{{เซตว่าง},2} ก็ไม่เป็นสับเซตของ P(A)
เพราะแม้ {เซตว่าง} อยู่ใน P(A) แต่เลข 2 ก็ยังไม่อยู่ใน P(A) ...

การที่เซตๆ หนึ่ง จะเป็นสับเซตของ P(A) ได้นั้น
สมาชิกในเซตนั้นจะต้องอยู่ใน P(A) ทั้งหมดทุกตัวครับ.. :]
นวย 29/01/48 22:33  [ 1 ] 

ข้อความนี้อาจมี html tag ที่ไม่อนุญาตให้แสดง
1.  แล้วถ้าอยู่มันต้องเขียนยังไงครับ
2. ถ้า 2 อยู่ต้องเขียนยังไงครับ
และ
การที่เซตๆ หนึ่ง จะเป็นสับเซตของ P(A) ได้นั้น
สมาชิกในเซตนั้นจะต้องอยู่ใน P(A) ทั้งหมดทุกตัวครับ
ยกตัวอย่างสักนิดน่ะครับ
รบกวนด้วยน่ะครับ  อยากทราบจริงๆ

แดน 31/01/48 08:05  [ 2 ] 
คือ  ที่ผมเข้าใจ
1. 0,2 ตัวแรก  ต้องเขียนเป็น {0,2} เป็นสับเซต A
ดังนั้น ที่ถูกต้อง {{0,2}} เป็นเพาเวอร์เซต  A  ใช่ไหมครับ

2  ต้องคลุม {{2}} ถึงจะได้คำตอบว่า  เป็น เพาเวอร์เซต A  ใช่ไหมครับ
cfo 31/01/48 08:10  [ 3 ] 

ข้อความนี้อาจมี html tag ที่ไม่อนุญาตให้แสดง
ข้างบนนี้ผมเองน่ะครับ  ลืมเปลี่ยนคีบอดเป็น ไทย
แดน 31/01/48 08:11  [ 4 ] 
ใช่แล้วครับ อย่างที่เขียนมาทั้งหมดถูกแล้วครับ

{0,2} ไม่มีทางจะเป็นสับเซตของ P(A) ได้เลย
เพราะถ้าจะเป็น ... 0 กับ 2 จะต้องอยู่ใน P(A)
แต่ว่า สิ่งที่อยู่ใน P(A) หน้าตาต้องเป็นเซตทั้งหมด
เลข 0 กับ เลข 2 ไม่มีทางอยู่ใน P(A) ใดๆ ได้เลย

{{เซตว่าง},2} ก็ยังไม่มีสิทธิ์เป็นสับเซตของ P(A)
เพราะว่ามีเลข 2 ซึ่งไม่มีทางอยู่ใน P(A) ได้..
(แต่ว่า {เซตว่าง} อยู่ใน P(A) นะครับ.. เพราะ เซตว่าง อยู่ใน A)

ถ้าจะให้เป็นสับเซตของ P(A)
เขียนแบบนี้ก็ได้ครับ
{{0},{2}}
{{{0}},{2}}
{{0,2}}
{{{0},2}}
{เซตว่าง,{2}}
{{เซตว่าง,2}}
{{เซตว่าง},{2}}

และอื่นๆ อีกมาก.. รวม 2 ยกกำลัง 128 แบบ ครับ..
(A มีสมาชิก 7 ตัว ... P(A) จะมีสมาชิก 128 ตัว...
ดังนั้น สับเซตของ P(A) จะมี 2^128 แบบ)
นวย 31/01/48 10:29  [ 5 ] 

ข้อความนี้อาจมี html tag ที่ไม่อนุญาตให้แสดง
วันนั้นที่คุณถามมา โทษทีครับ ผมตอบผิดไป
ที่กล่าวมามันเป็นสมาชิก....เฉยๆไม่ได้เป็นสับเซต
พาวเวอร์เซตคือ เซตของสับเซตทั้งหมดที่เป็นไปได้ ขอโทษจริงๆครับที่วันตอบผิดไป
เล้ง 31/01/48 18:14  [ 6 ] 
ขอบคุณมากครับทั้งสองเลยครับ

แดน 07/02/48 08:36  [ 7 ] 
👽
อาย 01/06/50 10:49  [ 8 ] 
วิธีพิมพ์สมการดูได้ที่กระทู้ 0072 ครับ      
แปะรูป/ไฟล์
ถ้าไม่มีรหัสส่วนตัว กรุณาใส่เลขหน้า "ความน่าจะเป็น" ใน Math E-Book .. หรือตั้งรหัสได้ ที่นี่

ทดลองพิมพ์สมการ