กำลังโหลด

    กระทู้ที่ 0160
ถามปัญหาเรื่องเซตคับ
ตั้งกระทู้ใหม่

มีข้อสงสัยอีกแล้วคับตอบ: 38, อ่าน: 10140, แท็ก: ถามโจทย์, อธิบาย, สถิติ, ทฤษฎีจำนวน

คือว่าผมทำข้อสอบ A Net 49 ข้อ 23 อะคับพี่นวยแล้วผมไม่รู้ว่าหาตำแหน่งที่เท่ากับอายุผู้จัดการยังไงอะคับ
ตั้ม 31/03/50 17:42 
ช่วยพิมพ์โจทย์ให้หน่อยได้ไหมครับ..
พี่นวยยังไม่มีโจทย์อ่ะครับ :]
นวย 01/04/50 01:14  [ 1 ] 
โรงเรียนแห่งหนึ่งมีพนักงาน 40 คน

 อายุ(ปี)       ความถี่สะสม

 11-20             6
 21-30            14
 31-40            26
 41-50            36
 51-60            40

ถ้าผู้จัดการมีอายุ 48.5 ปี แล้วอายุที่อยู่ระหว่าง med ของอายุพนักงาน กับอายุผู้จัดการมีจำนวนเท่าไร เข้าคิดเป็น%

   ผมหาไม่เจอคนที่มีอายุเท่ากับผู้จัดการอะคับว่าอยู่ในตำแหน่งใด
ช่วยหน่อยคับพี่นวยผมไม่เคยเจอโจทย์หาอย่างงี้อะ

                                         ขอบคุณคับ
ตั้ม 01/04/50 17:06  [ 2 ] 
ในที่นี้มีคนอยู่ 40 คนนะครับ..
การจะหาว่า ผู้จัดการซึ่งอายุ 48.5 ปี นั้นเป็นคนลำดับที่เท่าไร
ทำได้ 2 วิธีครับ คือ (1) ใช้สูตรโลด หรือ (2) เทียบเอาจากความรู้สึก..

----------------------------------------------

วิธีแรก = ใช้สูตร

โดยปกติเรารู้ลำดับแล้วไปแทนสูตรเพื่อหาค่าอายุ ใช่มั้ยครับ..
เช่น มัธยฐาน ก็คือคนที่ 20 จะมีอายุเท่ากับ
L + I (20 - ผลรวมความถี่ที่ขอบล่าง) / ความถี่ชั้นนั้น
= 30.5 + 10 (20 - 14) / 12
= 35.5 ปี

หรือสมมติอยากทราบอายุของคนลำดับที่ 30
..จะมีอายุเท่ากับ L + I (30 - ผลรวมความถี่ที่ขอบล่าง) / ความถี่ชั้นนั้น
(ต้องเลือกใช้ชั้นที่ถูกต้องด้วยนะครับ)
= 40.5 + 10 (30 - 26) / 10
= 44.5 ปี

แต่ในที่นี้บอกอายุ (ของผู้จัดการ) มา แล้วให้หาลำดับ
ก็เหมือนการแทนสูตรอีกฝั่ง แล้วย้ายข้างย้อนกลับ แค่นั้นเองครับ..

ผู้จัดการอายุ 48.5 ปี ..จะได้สูตรว่า
48.5 = L + I (ลำดับ - ผลรวมความถี่ที่ขอบล่าง) / ความถี่ชั้นนั้น
      = 40.5 + 10 (ลำดับ - 26) / 10
ก็จะย้ายข้างได้ "ลำดับ" เท่ากับ 34
แสดงว่า อายุผู้จัดการอยู่ในลำดับที่ 34 จาก 40 คน (เมื่อเรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก)

----------------------------------------------

วิธีที่สอง = เทียบจากความรู้สึก..
เขียนให้ฟังดูง่ายไปอย่างงั้นเองครับ ที่จริงก็คือเทียบสัดส่วนนั่นแหละ

ลักษณะการคิดจะเป็นอย่างงี้ครับ..
ในชั้น 41-50 มีความถี่เท่ากับ 10 คน (คือมีข้อมูลในช่วงนี้ 10 ตัว) ..หาจาก 36 ลบ 26
ข้อมูล 48.5 คิดเป็นข้อมูลตัวที่เท่าไหร่ของชั้นนี้หว่า?

เราก็มาดูว่า ชั้นนี้มีความกว้างเท่ากับ 10
โดยที่ข้อมูล 48.5 เนี่ย อยู่ที่ระยะทาง 8 ใน 10 (วัดจากขอบล่าง)
ดังนั้น ข้อมูลนี้เป็นตัวที่ (8/10)x10 = 8
แสดงว่า ผู้จัดการคนนี้ยืนอยู่ลำดับที่ 8 ของอันตรภาคชั้นนี้..
นั่นคือเขาอยู่ในลำดับที่ 26+8=34 ..จาก 40 คน (เมื่อเรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก)

หมายเหตุ
(1) ที่ขีดเส้นใต้จำนวนคน (ความถี่) ก็เพื่อไม่ให้งงว่าเลขไหนคือความถี่ เลขไหนคือความกว้างชั้นครับ
(เพราะในข้อนี้ดันเป็น 8 ใน 10 เหมือนๆ กัน..)
(2) วิธีแรกกับวิธีที่สอง ก็เหมือนกันแหละครับ
เพราะสูตร L + I (....) นั้นก็สร้างมาจากการเทียบสัดส่วนนี่เองแหละ 😉

----------------------------------------------

สรุปข้อนี้ครับ จำนวนคนที่มีอายุระหว่าง Med (ลำดับ 20) กับ ผจก. (ลำดับ 34)
ก็จะมีอยู่ 13 คน.. คิดเป็นร้อยละ (13/40)x100 = 32.5   ตอบ

มีในช้อยส์ป่าวครับเนี่ย.. กลัวคิดผิดเหมือนกัน.. 😀
นวย 03/04/50 00:35  [ 3 ] 
ขอบคุณมากคับ พี่นวย

พี่นวยคับคือว่าที่เขาใช้ค่า ขอบบนกับ ขอบล่างเพราะอะไรหรอคับ

คือว่าที่พี่คิดมาอะคับมันไม่มีคำตอบอะคับ

เว็บข้อสอบคับ www.niets.or.th
ตั้ม 03/04/50 08:05  [ 4 ] 
สาเหตุที่การคำนวณทั้งหมดต้องใช้ขอบบน ขอบล่าง
..ตอบยากจังครับ คำถามนี้

ขออธิบายแบบนี้ละกันครับ..
ขอบบน ขอบล่าง เกิดมาเพื่อให้รู้ว่า ข้อมูลตัวที่ตกลิมิตไปจะต้องอยู่ชั้นไหน

ลิมิตในที่นี้เป็นชื่อเรียกตัวเลขที่แสดงในอันตรภาคชั้นนะครับ
เช่น สมมติมีอันตรภาคชั้น 5-9 และ 10-14 และ 15-19

ลิมิตบน (upper limit) ของชั้น 10-14 คือ 14
ลิมิตล่าง (lower limit) ของชั้น 10-14 คือ 10
ขอบบน (upper boundary หรือ U) ของชั้น 10-14 คือ 14.5
ขอบล่าง (lower boundary หรือ L) ของชั้น 10-14 คือ 9.5

เนื่องจากลิมิตของแต่ละชั้นมันไม่ได้ชนถึงกัน
ถ้าเกิดมีค่าข้อมูลไปตกอยู่ระหว่างนั้น เช่น 9.3 หรือ 9.75 ก็จะไม่รู้เอาไว้ชั้นไหนดี
..แบบนี้ขอบบน ขอบล่าง ช่วยท่านได้!

ขอบระหว่างชั้น 5-9 กับ 10-14 ก็คือ 9.5 ใช่ไหมครับ
(เป็นขอบบนของชั้น 5-9 และเป็นขอบล่างของชั้น 10-14)
ดังนั้น 9.3 อยู่ในชั้น 5-9 และ 9.75 อยู่ในชั้น 10-14

ป.ล. ถ้าข้อมูล 9.5 เป๊ะๆ ถือว่าอยู่ในชั้น 10-14 นะครับ
อันนี้เป็นข้อตกลงที่ไม่รู้ใครเป็นคนบังคับเราไว้เหมือนกัน 😀

สรุปแล้วก็คือ ถ้าไม่ใช้ขอบบน ขอบล่าง ค่าที่ได้จะผิดเพี้ยน
เพราะไอ้เจ้าลิมิต (เช่นในตัวอย่างคือ 5, 9, 10, 14, 15, 19) เนี่ย
มันไม่ได้ชนถึงกัน ถ้าหากใช้มัน ก็จะทำให้ความกว้างชั้นผิดไป
พิสัยโดยรวมก็ผิดไป แถมข้อมูลที่มีค่าระหว่างนั้นก็จะไม่มีที่อยู่ด้วย
..ก็เลยขยายขอบเขตของแต่ละชั้นมาชนกันซะเลย โดยใช้ขอบบน ขอบล่าง นี่เอง

ตอบแบบนี้ไม่ค่อยตรงคำถามเท่าไหร่ หรือเปล่าครับ :]
นวย 05/04/50 10:49  [ 5 ] 
ส่วนคำตอบ 32.5% นี่คิดยังไงก็ได้เท่าเดิมอ่ะครับ
ขอยืนยันคำตอบเดิม ถึงแม้จะไม่มีในช้อยส์ก็ตาม.. แหะๆๆ..
นวย 05/04/50 11:31  [ 6 ] 
ขอบคุณมากคับพี่นวย แสดงว่าสูตร med คิดจากขอบบนกับขอบล่างอะสิคับ
ตั้ม 07/04/50 11:23  [ 7 ] 
ใช่แล้วคร้าบ.. (รวมถึงสูตร mode ด้วยนะ..)
นวย 09/04/50 23:48  [ 8 ] 
พี่นวยคับพี่พอจะมีเทคนิคทำโจทย์เรื่องทฤษฎีเศษมั่งปะคับ คือผมเจอโจทย์อันนี้แล้วทำไม่ค่อยได้

เช่นให้ตัวนึ่งมาแล้ว แล้วบอกเหลือเศษแล้วมี ว่าตัวนี้น้อยกว่าตัวนี้แล้วบอกว่าเป็นจำนวนเฉพาะ อะไรอย่างงี้อะคับผมไม่ค่อยได้อะคับช่วยบอกผมทีนะคับ
ตั้ม 11/04/50 16:20  [ 9 ] 
อ่านแล้วยังนึกไม่ออกว่าหมายถึงโจทย์แบบไหนอ่ะครับ
คล้ายๆ ว่าจะเป็นโจทย์เรื่อง ห.ร.ม. วิธียุคลิด รึเปล่าไม่แน่ใจ
ลองยกโจทย์เต็มๆ ซักข้อดีกว่าครับ เดี๋ยวอธิบายเพิ่มครับ :]
นวย 11/04/50 23:54  [ 10 ] 
ตัวอย่างนะคับพี่ นวย กำหนดให้ x และ y เป็นจำนวนเต็มบวก โดยที่ x<y  ห.ร.ม. ของ x,y  เท่ากับ 9 ค.ร.น. ของ x,y เท่ากับ 28215 และจำนวนเฉพาะที่แตกต่างกันทั้งหมดที่หาร x ลงตัวมี 3 จำนวนค่าของ y - x เท่ากับเท่าไร

เรื่องพวกคล้ายๆ แบบ นี้อะคับแต่ข้อนี้ผมทำได้คับแต่บางข้อผม ไม่ค่อยได้อะคับ ช่วยสอนเทคนิคการดูโจทย์หน่อยคับ
ตั้ม 18/04/50 15:07  [ 11 ] 
พี่ นวย คับแล้วหนังสือใหม่พี่เป็นแบบไหนหรอคับ

ส่งภาพมาให้ด้วยหน่อยสิคับผมจะซื้อ (วางขายเมื่อไรคับ)
ตั้ม 20/04/50 15:08  [ 12 ] 

เกี่ยวกับหนังสือที่กำลังจะออก
เป็นหนังสือตะลุยโจทย์ Entrance และ Advance
รายละเอียดดูได้ในกระทู้ที่แล้ว (กระทู้ที่ 0160) ครับ..
(ขอบคุณที่เตรียมตัวอุดหนุน.. แต่ว่า ตอนนี้ยังไม่มีแบบปกเลยอ่ะครับ)

แต่ยังไงก็ขอตอบความคิดเห็นที่ 11 กับ 12 แบบสองในหนึ่งเลยนะครับ..
โดยใช้ตัวอย่างจากหนังสือเล่มใหม่ เลือกเฉพาะโจทย์เรื่องนี้มาให้ศึกษาดูเลย
โหลดไฟล์ได้ที่นี่ครับ.. --> Release5.0.preview.number.070421.pdf (ขนาดไฟล์ 101 kB)

ในไฟล์ pdf จะมีโจทย์อยู่ 8 ข้อ
ข้อ 93, 94, 95 เป็นโจทย์ในลักษณะเดียวกับที่น้องตั้มให้ตัวอย่างมาครับ
(และมีโจทย์ข้อเดียวกันนี้ อยู่ที่ข้อ 95. ด้วย)
โจทย์ในลักษณะนี้ไม่มีรูปแบบการแก้ที่ตายตัว จะเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขที่บอกมา
แต่ทุกข้ออ้างอิงจากหลักการที่เหมือนๆ กันอยู่ 2 อย่างครับ คือ

1. สมมติมีจำนวนสองจำนวนคือ a กับ b
ถ้าหา หรม. และ ครน. ของ a, b แล้วนำมาคูณกัน
จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ a คูณ b พอดี เสมอ..

2. ผลจากข้อ 1. ทำให้ประยุกต์ได้ว่า
ถ้าเรารู้ หรม. กับ ครน. แต่ไม่รู้ a กับ b
ให้แยกตัวประกอบของ หรม. และ ครน. ออกมาเป็นจำนวนเฉพาะ กองไว้ก่อน..
และจะสร้างจำนวน a และ b กลับคืนมาได้ โดยแบ่งกองๆ นั้น ออกเป็นสองส่วน
ส่วนนึงจะคูณกันได้ a และอีกส่วนนึงจะคูณกันได้ b
(จะแบ่งกองอย่างไร ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่โจทย์บังคับ.. ซึ่งอาจจะแบ่งได้หลายแบบก็ได้)

ข้อ 176, 180 เป็นโจทย์คล้ายๆ กัน ที่น่าสนใจ น่าลองทำดูครับ

และข้อ 96, 97, 177 เป็นโจทย์เกี่ยวกับการหา หรม. ด้วยวิธีของยุคลิด.. นี่ก็น่าสนใจครับ :]

ทุกข้อมีเฉลยวิธีคิดไว้ให้ คิดว่าน่าจะอธิบายชัดเจน อ่านแล้วคงไม่งง
แต่ถ้ามีคำถามเพิ่มเติมก็โพสต์ต่อ (หรือขึ้นกระทู้ใหม่) ได้เลยครับผม.. 😀
นวย 21/04/50 23:46  [ 13 ] 
ขอโปรโมทอีกนิดนึงครับ..
รายละเอียดเกี่ยวกับผลงานทั้งหมด ทั้งที่ผ่านมาและกำลังจะออก
ดูได้ที่หน้า "เกี่ยวกับผู้เขียน/ผลงาน" ครับ
(คลิกที่ลิงก์ในแถบซ้ายมือ ข้างบน)
..จะอัพเดทหน้านั้นทุกครั้งที่มีความคืบหน้าครับ 😄
นวย 30/04/50 13:06  [ 14 ] 
พี่นวยคับช่วย เอาให้เรื่องนี้ผมเก่งหน่อยทีนะคับที่พี่บอกมาผมยังทำไม่ค่อยได้อะคับพี่ ผมกลัวมันจะออก ปี 51 อะคับ
(ขอโจทย์เทคนิคเพิ่มการดูการวิเคราะห์หน่อยนะคับ)


                        ขอบคุณคับอาจารย์
                              ตั้ม
ตั้ม 05/05/50 16:13  [ 15 ] 
ทำไมไม่ตอบ้ลยละคับพี่นวย

ตั้ม 08/05/50 15:33  [ 16 ] 
ใจเย็นครับน้อง.. ขอเวลาเตรียมคิดโจทย์ก่อนสิครับ 😀
นวย 08/05/50 16:58  [ 17 ] 
อย่างงี้ดีกว่าครับ
พี่นวยคิดว่า น้องตั้มยังไม่จำเป็นต้องทำโจทย์เยอะมากๆ
คือถ้าหากแต่ละข้อที่ให้โจทย์ไป ยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง ก็ต้องยังไม่เปลี่ยนโจทย์ครับ
.. ยังไงตอนนี้ช่วยตอบก่อนว่า มีข้อสงสัยของแต่ละข้ออย่างไรบ้างครับ?
เดี๋ยวจะอธิบายให้ฟัง พร้อมยกตัวอย่างเพิ่มเติมให้ตรงแนวที่น้องตั้มงงครับ
นวย 08/05/50 17:03  [ 18 ] 
คือว่าพี่นวยคับผมมีปัญหาตรงที่ตีโจทย์บางข้อเองไม่ได้อะคับ พอดูเฉลยก็เข้าใจอะคับ ผมเลยอยากเอาโจทย์มาทำเยอะๆอะคับ
ตั้ม 09/05/50 16:00  [ 19 ] 
น้องตั้มครับ พี่นวยพยายามหาโจทย์เพิ่มก็ไม่มีแล้วครับ
ดูจากหนังสือหลายเล่ม ก็มีแค่เท่าที่อยู่ในตะลุยโจทย์ (Ent)
ครั้นพี่นวยจะลองตั้งโจทย์ขึ้นมาเอง ก็รู้สึกไม่ค่อยสวยเท่าไหร่
ยังไงน้องตั้มคงต้องหาเพิ่มเองแล้วล่ะครับ..
ส่วนถ้าได้โจทย์แล้วไม่เข้าใจวิธีทำ ก็มาถามพี่นวยได้เลยฮะ 😀
นวย 15/05/50 21:02  [ 20 ] 
คับขอบคุณพี่มากนะ
ตั้ม 16/05/50 16:57  [ 21 ] 
พี่นวยคับผมขอถามเรื่องจำนวนเชิงซ้อนนะคับ

1+iยกกำลัง1/53

นี่หาได้ด้วยหรอคับ i มียกกำลังเศษส่วนด้วยหรอคับ

หรือต้องคิดเอา4คูณ 13ได้ 52 แล้ว+1ได้ 53ดังนั้นเศษคือ 1 หรือหาไม่ได้อะคับ ช่วยตอบด่วนหน่อยนะคับ !!! ขอบคุณคับ
ตั้ม 16/05/50 17:06  [ 22 ] 
พี่นวยคับแล้ว msn ที่พี่นวยให้มาไม่เคยเจอพี่นวยขึ้นมามั่งเลยอะคับ พี่นวยจะเข้ามาประมาณเวลาเท่าไรหรอคับ
ตั้ม 16/05/50 18:11  [ 23 ] 
โดยปกติแล้วยกกำลังเศษส่วนคือถอดรากครับ
ยกกำลัง 1/53 ก็คือรากที่ 53
แต่พี่นวยคิดว่าโจทย์คงจะผิด เพราะรากที่ 53 ของจำนวนใดๆ ก็ตาม ย่อมมีถึง 53 แบบ
คือจะตอบทั้ง 53 คำตอบ ก็คงไม่ไหวล่ะมั้งครับ 😁

msn นี่ไม่ได้ใช้เป็นกิจวัตรครับ.. นานมากๆๆๆ ถึงจะโผล่ทีนึงครับ
นวย 17/05/50 09:17  [ 24 ] 
คับขอบคุณมากๆ เลยนะคับ ผมก็ว่าโจทย์มันผิดอะคับ เพราะ รูท-1ยกกำลังเศษส่วนอีก


ถ้าผมมีข้อสงสัยอะไรอีกผมขอรบกวนพี่ด้วยนะคับ
ตั้ม 17/05/50 16:41  [ 25 ] 
พี่นวยคับหนังสือที่พี่ทำพวกตะลุยโจทย์ออกเมื่อไรหรอคับ คือผมต้องการทำอะคับ ช่วยแจ้งที่นะคับแล้วสั่งซื้อหรือยังไงบอกด้วยนะคับ (พี่นวยได้ทำฟิสิกด้วยป่าวคับถ้ามีแล้วสั่งซื้อหรือซื้อได้ที่ไหนบอกด้วยนะคับ)

เรื่องที่ผมเคยถามพี่นวยแล้วผมให้หาโจทย์อะคับผมพอมีแล้วนะคับ ถ้าข้อไหนผมสงสัยเดียวผมจะโพสไว้นะคับ
ตั้ม 18/05/50 17:32  [ 26 ] 
>> หนังสือที่พี่ทำพวกตะลุยโจทย์ออกเมื่อไรหรอคับ.. สั่งซื้อหรือยังไงบอกด้วยนะคับ

ตอนนี้ทาง สนพ. ยังไม่เอาเข้าโรงพิมพ์เลยครับ
พี่นวยเลยคิดว่าในสองสามวันนี้จะเพิ่มเฉลย A-NET ปี 49-50 เข้าไปด้วย
เมื่อโรงพิมพ์พิมพ์เสร็จแล้วก็คงวางขายทั่วไปครับ (ทุกร้านที่มีขาย Math E-Book)
แต่ตามที่คาดไว้ อย่างเร็วสุดก็คงต้องรอถึงเดือนกรกฎาคมแน่ะ 🤨

>> เรื่องที่ผมเคยถามพี่นวยแล้วผมให้หาโจทย์อะคับผมพอมีแล้วนะคับ

ดีเลยครับ.. พี่นวยหาไม่ได้จริงๆ อ่ะครับ
ถ้าติดขัดตรงไหนก็โพสได้เลยคร้าบ.. 😁
นวย 19/05/50 11:11  [ 27 ] 
คับ  พี่นวยคับช่วยสอนเรื่องดัชนีให้ผมทีคับ คือเดียวนี้มันยังออกสอบอยู่หรือป่าวคับเรื่องดัชนีอะคับ แล้วพี่ส่งโจทย์ดัชนีให้ผมืทำด้วยนะคับ
ตั้ม 19/05/50 21:09  [ 28 ] 
ไม่มีแล้วครับเรื่องนี้ ไม่ว่าในข้อสอบใดๆ ในระดับ ม.ปลายครับ 🙂
นวย 19/05/50 23:03  [ 29 ] 
แล้วผมเจอในข้อสอบเก่าตั้งหลายปีเลยอะคับ แล้วทำไมเขาจึงตัดไปอะคับ ในสังคมก็มีเรื่องนี้อะคับ พี่นวยช่วยสอนผมทีนะคับผมทำไม่เป็นไม่เคยเรียนแล้วไม่มีหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยอะคับ
ตั้ม 20/05/50 08:09  [ 30 ] 
เรื่องนี้จะอยู่ในข้อสอบช่วงปี 2537 ถึง 2546 ครับ
ตั้งแต่ 2547 เป็นต้นมา เรื่องนี้จะถูกตัดออกจากหลักสูตร
เปลี่ยนเป็นเรื่องทฤษฎีกราฟ / อุปนัย-นิรนัย / เวกเตอร์สามมิติ แทนครับ

ส่วนเรื่องสอนนี่คงพิมพ์ในนี้ไม่ไหว เดี๋ยวพี่นวยจะดึง pdf จาก Math E-Book เวอร์ชั่นเก่า มาให้ละกัน
รอแป๊บนึงนะครับ ต้องไปเอาไฟล์จากเครื่องอื่นอ่ะ 🙂
นวย 20/05/50 22:47  [ 31 ] 
มาแล้วครับ โหลดไฟล์ได้ที่นี่เลยครับ
--> MathR1-8-IndexNumber.zip (139 kB)
Note: ลิงก์นี้เป็นลิงก์เก่าตั้งแต่ปี 2007 ปัจจุบันไม่มีไฟล์นี้แล้วครับ
นวย 21/05/50 20:22  [ 32 ] 
พี่นวยคับเดียวนี้เรื่องนี้ไม่ออกสอบแล้วใช่ไหมคับผมได้ไม่ต้องไปดูเรื่องนี้มากอะคับ
ตั้ม 27/05/50 13:53  [ 33 ] 
>> ไม่มีแล้วครับเรื่องนี้ ไม่ว่าในข้อสอบใดๆ ในระดับ ม.ปลายครับ 🙂

อ่านไว้เล่นๆ ก็ได้ครับ จะได้เข้าใจความหมายคำว่า
1. ค่าครองชีพมันสูงขึ้นทุกปีๆ
2. ดัชนีราคาหุ้นวันนี้ปิดตัวลดลงจากวันก่อน 2.54 จุด
ว่ามันแปลว่าไง และคิดมาจากอะไร เป็นความรู้เสริมครับผม..
นวย 27/05/50 23:57  [ 34 ] 
วันเกิดของยุคลิด❔เเละจะมีทางค้นหาได้ที่เว็บในบางค่ะ❔
เเว้ 28/05/50 19:15  [ 35 ] 
ในเว็บ wikipedia น่าจะมีครับ :]
นวย 28/05/50 19:44  [ 36 ] 
พี่นวยคับเวอร์ชั่นใหม่นี้แก้ตรงไหนมั่งอะคับ
ตั้ม 02/06/50 07:34  [ 37 ] 
ส่วนใหญ่แก้จุดที่พิมพ์ผิดในเฉลยวิธีคิด ของโจทย์ข้อสอบครับ หน้า 404 เป็นต้นไป
(ไม่ได้แก้คำตอบ แต่แก้ตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่พิมพ์ผิดอ่ะครับ)
แล้วก็มีแก้เรื่องความสวยงาม ช่องไฟ ฯลฯ บ้างนิดหน่อย 😀
นวย 02/06/50 11:15  [ 38 ] 
วิธีพิมพ์สมการดูได้ที่กระทู้ 0072 ครับ      
แปะรูป/ไฟล์
ถ้าไม่มีรหัสส่วนตัว กรุณาใส่เลขหน้า "ความน่าจะเป็น" ใน Math E-Book .. หรือตั้งรหัสได้ ที่นี่

ทดลองพิมพ์สมการ