ช่วยแสดงวิธีทำให้ดูหน่อยค่ะตอบ: 21, อ่าน: 26287
มีปัญหาสองข้อมาถามค่ะ พยายามคิดแล้วแต่ทำไม่ได้จริงๆค่ะ
1. จงหาค่า f(x) จากสมการ f''(x)+2f'(x)-3f(x) = 0 โดยที่ f(0)=0, f'(0)=4
2.
$\int{x^nlogx dx} $
ขอบคุณมากค่ะ
ตาล
ข้อ1. เนื้อหาอยู่ใน Calculus2 เรื่องสมการเชิงอนุพันธ์ (Diff. Equa.) ครับ
(เป็นหัวข้อ สมการเชิงอนุพันธ์อันดับสอง ดีกรีหนึ่ง ที่มี a, b, c เป็นค่าคงที่ และ d = 0)
สมการช่วยคือ m
2 + 2m - 3 = 0
แยกตัวประกอบได้เป็น (m + 3)(m - 1) = 0 .. ดังนั้น m = -3 หรือ 1
แสดงว่าผลเฉลยทั่วไปคือ f(x) = k
1e
-3x + k
2e
x
โดยค่า k ทั้งสองตัวคือค่าคงที่ใดๆ ครับ
แต่โจทย์กำหนด f(0) = 0 และ f'(0) = 4 แสดงว่าต้องการให้หาค่า k ทั้งสองด้วย
..ตรงนี้ไม่ยากครับ ลองไปทดต่อดูนะครับ
ข้อ 2. เนื้อหาอยู่ใน Calculus1 เรื่องเทคนิคการอินทิเกรต แบบทีละส่วน (By Part) ครับ
เข้าใจว่า log x ในที่นี้หมายถึง ln x ใช่ไหมครับ (จึงขอเขียนเป็น ln เพื่อไม่ให้สับสน)
ให้
$I = \int{x^n ln x dx} $
โดยที่
$u = x^n ln x$ และ
$dv = dx$
(ดังนั้น
$du = (n+1) x^{n-1} ln x dx$ และ
$v = x$)
จาก
$\int{u dv} \,=\, uv - \int{v du}$
จะได้
$I \,=\, x^{n+1} ln x - \int{(n+1) x^n ln x dx} \,=\, x^{n+1} ln x - (n+1) I + C_1$
ย้ายข้างมารวมกันทางซ้าย ได้เป็น
$(n+2) I\, =\, x^{n+1} ln x + C_1$
ถึงขั้นนี้ก็จะได้คำตอบแล้วครับ..
$I \,=\, \frac{x^{n+1} ln x}{n+2} + C$
นวย
ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำตอบทั้งสองข้อ
สำหรับข้อ1.นี่ยังไม่เคยเรียนเลยอ่ะค่ะ ไม่ทราบว่าพี่พอจะมีเนื้อหาที่สามารถอ่านผ่านเน็ตได้มั้ยคะ ช่วยแนะนำลิงค์ด้วยค่ะ
ส่วนข้อ2.นี่ มันเป็น log x จริงๆค่ะ ไม่ใช่ ln x
ถ้าเป็น ln x นี่พอจะทำได้ค่ะ แต่นี่พอเป็น log x แล้วงงไปเลย
ยังไม่เคยเรียนวิธีอินทิเกรต log เลยอ่ะค่ะ ขอรบกวนช่วยสอนหรือแนะนำลิงค์ที่มีข้อมูลให้หน่อยค่ะ
รบกวนมากไปป่าวเนี่ย ฮ่าๆ
ขอบคุณมากค่ะ
ตาล
ข้อ 1. ... แนะนำ
ลิงก์นี้ มีสรุปโน้ตย่อไว้อย่างดี ครบถ้วน
แล้วจากนั้นดูตัวอย่างการคิดได้จาก
ลิงก์นี้ ครับ
Note: ลิงก์นี้เป็นลิงก์เก่าตั้งแต่ปี 2009 ปัจจุบันเปิดไม่ได้แล้วครับ
(ถ้าไม่เหนื่อยใจกับการอ่านภาษาอังกฤษนะครับ) 😀
ข้อ 2. ... เอ ถ้าอินทิเกรต ln x เป็น ก็ไม่น่ามีปัญหาสำหรับ log x นะครับ
จากที่ทราบแล้วว่าดิฟ ln x ได้ (1/x)
ก็เพียงเปลี่ยนมาใช้เป็น.. ดิฟ log x เท่ากับ (1/x) * ln10 ครับ
(ln10 เป็นค่าคงที่ ไม่มีผลต่อการอินทิเกรต, คำตอบจึงเปลี่ยนไปเฉพาะสัมประสิทธิ์เท่านั้น)
ป.ล. แปลกดีเหมือนกันนะครับ ที่เราต้องอินทิเกรต log x และ ln x โดยการดิฟ!
นวย
เออ จริงๆด้วย หนูก่งก๊งเองค่ะ
มัวแต่ไปอินทิเกรตแหลกทุกตัวเลย ฮ่าๆๆๆ
ขอบคุณมากค่ะสำหรับลิงค์และคำแนะนำ
ตาล
คร้าบ ยินดีตอบครับ :]
นวย
พี่นวยครับ ผมว่าข้อ 2. แปลกๆ นะครับ
จาก
$u = x^n \ln x$
ดังนั้น
$du = \left( {x^n \left( {{1 \over x}} \right) + \ln x\left( {nx^{n - 1} } \right)} \right)dx$ นะครับ
จริงๆ ข้อนี้ผมว่าน่าจะได้แบบนี้นะครับ
$\int {x^n \ln xdx = {{x^{n + 1} } \over {n + 1}}} \left( {\ln x - {1 \over {n + 1}}} \right) + c$
แล้วก็ตรงที่ดิฟ log x หน่ะครับ ผมว่ามันต้องเอา ln 10 มาหารมากกว่านะครับ คือ...
${d \over {dx}}\left( {\log x} \right) = {d \over {dx}}\left( {{{\ln x} \over {\ln 10}}} \right) = {1 \over {\ln 10}}\left( {{{d\ln x} \over {dx}}} \right) = {1 \over {x\ln 10}}$
ผมคิดว่าน่าจะเป็นอย่างนี้นะครับพี่นวย เอ๊ะ หรือยังไง ผมก็งงๆ ครับ
นู้น
โอ๊ะ.. จริงด้วยครับ ตามที่คุณน้องนู้นแก้ไขมานี่ถูกทุกอย่างเลยครับ
ขออภัยคุณตาลด้วยครับ ไม่รู้จะได้กลับมาเจอการแก้ไขนี้หรือเปล่า - -"
ขอยืนยันว่า ดิฟ log x ต้องได้ (1/x) / ln10 จริงๆ ครับ อันนี้ผมพลาดเต็มประตูครับ
ส่วนอินทิเกรต by part ..ดันพิมพ์ du ผิดไปหน่อยครับ ดึงตัวร่วมผิด (ด้วยความมึน)
ก็เลยทำให้ผิดยาวจนจบข้อเลย ที่ถูกจะต้องเป็น
$du = (n ln x + 1) (x^{n-1}) dx$
(คือ ln x ต้องอยู่ในวงเล็บ)
และเมื่อทดต่อจนเสร็จ จะได้คำตอบเท่าที่น้องนู้นบอกมาครับ
นั่นคือ..
$I \,=\, x^{n+1} ln x - \int{(n ln x + 1) x^n dx} \,=\, x^{n+1} ln x - n I - \frac{x^{n+1}}{n+1} + C_1$
ย้ายข้างมารวมกันทางซ้าย ได้เป็น
$(n+1) I\, =\, x^{n+1} ln x - \frac{x^{n+1}}{n+1} + C_1$
สรุปว่า
$I \,=\, x^{n+1} (\frac{ln x}{n+1} - \frac{1}{(n+1)^2}) + C$
ป.ล. ฮาตัวเองจริงๆ เพราะตอนที่อินทิเกรตเสร็จ ผมก็ลองดิฟดูแล้วนะ
ปรากฏว่าดันได้
$x^n ln x$ กลับคืนมาซะงั้น เพราะดึงตัวร่วมผิดเหมือนเดิม
กลายเป็นว่าการตรวจคำตอบไม่ได้ช่วยอะไรเลย.. 555 :P
ขออนุญาตมอบอีกหนึ่งดาวนะครับ (มอบแล้วยังไม่รู้จะเอาไปใช้อะไรต่อเลย.. หงิ่ว!)
นวย
ตอนแรกก็งงๆอยู่เหมือนกันค่ะ พอจะกลับเข้ามาถามใหม่ก็เห็นคำตอบแล้ว
ขอบคุณพี่ทั้งสองคนมากค่ะ
^^
ตาล
ขอแอบทำให้ไขว้เขวนิดนึงค่ะ
เรื่อง log กับ ln เนี่ย text บางเล่มเค้าจะใช้ log ในความหมายของ ln เป็น default เลยนะคะ
เพื่อความชัวร์ ตอนอ่านอาจจะต้องเช็คนิดนึงค่ะว่า log ของเค้าคือ log ฐาน 10 หรือ ฐาน e 🙂
Shauฯ
ยินดีที่คุณตาลมาพบคำตอบที่ถูกต้องจริงๆ ครับ
ขอบคุณคุณน้องนู้นที่ช่วยตรวจสอบและแก้ไขด้วยครับ
และก็ขอบคุณน้องชอฯ ที่ทำให้พี่นวยรู้ว่าไม่ได้เข้าใจไปทางนั้นคนเดียวเด้อ :]
(ตอนนี้ยังรู้สึกอยู่เลยว่าคนตั้งโจทย์ไม่น่าตั้งเป็น log)
นวย
เราจะมีวิธีคิดอย่างไรถ้าโจทย์ลักษณะเดียวกับข้อแรกมันไม่เท่ากับศูนย์คะ
เช่น
$f''(x)+2f'(x)-3f(x) = x^2$ อะไรประมาณนี้
ขอบคุณมากค่ะที่กรุณาเสียสละเวลาอีกครั้งนึง พอดีเรียนหนังสือด้วยตัวเองอยู่อ่ะค่ะ ไม่รู้จะถามใคร
ตาล
ถ้าไม่เป็น 0 ผมทำไม่เป็นแล้วครับ เพราะไม่ได้เรียนภาคคณิตศาสตร์มาโดยตรง
แต่ก็คิดว่าคงมีหลักการตายตัวเหมือนกันครับ ลองหาในเน็ตดูก็ได้
หรือไม่แน่อาจมีผู้รู้ผ่านมาช่วยตอบให้ก็ได้ครับ..
นวย
ไม่เป็นไรค่ะ
เซ็งเจงๆ ไม่รู้จะคิดทฤษฎีมาให้เรียนเยอะแยะทำไม
เครียดๆๆๆ
ขอบคุณมากค่ะ
ตาล
ในกรณีที่ตัวหลังไม่เท่ากับ 0
สมการนี้ก็จะเป็นสมการเชิงอนุพันธ์แบบเชิงเส้นอันดับสองแบบไม่เป็นเอกพันธ์ครับ
วิธีคิด ก็จะมีวิธีปกติ คือ เราจะต้องคิด 2 ขั้นครับ
ขั้นแรก หา
$Y_c$
ก็จะคิดเหมือนกรณีที่ด้านหลังเป็น 0 ครับ
จาก
$D^2 + 2D - 3y = x^2$ ---(*)
จะได้
$ r^2 + 2r - 3 = 0$
$ (r + 3)(r - 1) = 0$
$ r = 1, - 3$
ดังนั้น
$Y_c = c_1 e^x + c_2 e^{ - 3x} $
ขั้นสอง หา
$Y_p$
เราจะต้องกำหนด f(x) ด้านหลัง ให้กลายเป็นสมการติดตัวแปร
แล้วก็ดิฟ แทนค่า เอาไปเทียบสัมประสิทธิ์ครับ
กำหนด
$Y_p = ax^2 + bx + c$
จะได้
$ Y_p ^\prime = 2ax + b $
$ Y_p ^{\prime \prime } = 2a$
นำไปแทนค่าใน (*) จะได้
$(2a) + 2(2ax + b) - 3(ax^2 + bx + c) = x^2 $
แล้วเทียบสัมประสิทธ์
พจน์
$x^2$ ได้
$ - 3a = 1$
พจน์
$x^1$ ได้
$ 4a - 3b = 0$
พจน์
$x^0$ ได้
$ 2a + 2b - 3c = 0$
จะได้
$a = - {1 \over 3},\,\,\,b = - {4 \over 9},\,\,\,c = - {{14} \over {27}}$
ดังนั้น
$Y_p = - {1 \over 3}x^2 - {4 \over 9}x - {{14} \over {27}}$
สรุปคำตอบ
$Y = Y_c + Y_p$
คือ
$Y = c_1 e^x + c_2 e^{ - 3x} - {1 \over 3}x^2 - {4 \over 9}x - {{14} \over {27}}$
นู้น
สำหรับการกำหนด
$Y_p$ นั้น มีหลักการดังนี้ครับ
ถ้ามี
$ke^{nx}$ จะต้องกำหนด
$ce^{nx}$
ถ้ามี
$kx^{n}$ จะต้องกำหนด
$c_n x^n + c_{n - 1} x^{n - 1} + ... + c_1 x + c_0 $
ถ้ามี
$ke^{nx}\cos \theta x$ หรือมี
$ke^{nx}\sin \theta x$
จะต้องกำหนด
$e^{nx}(a \cos \theta x + b \sin \theta x) $
ในกรณีที่กำหนด
$Y_p$ บางตัวไปซ้ำกับ
$Y_c$
จะต้องคูณ x เข้าไปในพจน์นั้นๆ จนกว่าจะไม่เหมือนกับ
$Y_c$ เช่น
ถ้าได้
$Y_c = c_1 e^{2x} + c_2 e^x$
โดยที่ด้านหลังเท่ากับ
$ 2e^x + 3x$
เมื่อกำหนด
$Y_p = ae^x + bx + c$
พบว่ามีพจน์
$e^x$ ซ้ำใน
$Y_c$
ดังนั้น จึงต้องกำหนด
$Y_p$ เป็น
$Y_p = axe^x + bx + c$ (คูณ x เข้าไปในพจน์นั้น จนกว่าจะไม่ซ้ำ)
นู้น
นอกจากนี้ยังมีวิธีลัดอีกนะครับ (วิธีลัดจะไม่เทียบสัมประสิทธิ์ แต่จะใช้การแทน u ครับ)
สำหรับขั้นแรก หา
$Y_c$ จะเหมือนกันครับ
แต่สำหรับขั้นสอง จะใช้วิธีการดังนี้ครับ
จาก
$(D + 3)(D - 1)Y_p = x^2 $
จะได้
$Y_p = {{x^2 } \over {(D + 3)(D - 1)}}$
กำหนดให้
$u = {{x^2 } \over {D + 3}}$ ---(1)
จะได้
$Y_p = {u \over {D - 1}}$ ---(2)
จาก (1)
จะได้
${{du} \over {dx}} + 3u = x^2 $
หา
$I = e^{\int {3dx} } = e^{3x} $ เอาไปคูณตลอด
$e^{3x} {{du} \over {dx}} + 3ue^{3x} = x^2 e^{3x} $
จัดรูปได้
$due^{3x} = x^2 e^{3x} dx$ แล้วอินทิเกรตทั้งสองข้าง
$e^{3x} u = {{x^2 } \over 3}e^{3x} - {{2x} \over 9}e^{3x} + {2 \over {27}}e^{3x} $
ดังนั้น
$u = {{x^2 } \over 3} - {{2x} \over 9} + {2 \over {27}}$
เอา u ไปแทนค่าใน (2)
จะได้
${{dY_p } \over {dx}} - Y_p = {{x^2 } \over 3} - {{2x} \over 9} + {2 \over {27}}$
หา
$ I = e^{\int { - 1dx} } = e^{ - x} $
$e^{ - x}{{dY_p } \over {dx}} - e^{ - x}Y_p = e^{ - x}({{x^2 } \over 3} - {{2x} \over 9} + {2 \over {27}})$
$e^{ - 1} Y_p = e^{ - 1} ( - {{x^2 } \over 3} + {{2x} \over 9} - {2 \over {27}} - {{2x} \over 3} + {2 \over 9} - {2 \over 3})$
จะได้
$Y_p = - {1 \over 3}x^2 - {4 \over 9}x - {{14} \over {27}}$ เหมือนกัน
สำหรับวิธีลัดนี้จะไม่ต้องเทียบสัมประสิทธ์ แต่ใช้การทำทีละตัว
ซึ่ง จะเจอการอินทิเกรตทีละส่วนแทน (ดังนั้น ขึ้นอยู่กับโจทย์ว่าแบบใหนจะง่ายกว่า หรือ ถนัดกว่า)
นู้น
ท่านผู้รู้มาช่วยตอบแล้ว เย่ๆๆ ขอบคุณมากๆ เลยครับ
(วันหลังผมจะขยันให้เท่าคุณนู้นครับ แหะๆๆๆ)
พอดีผมป่วยหลายวันเพิ่งหายดีครับ
กลับมาแล้วก็ขอมอบดาว 1 ดวงใหญ่ๆ ย้อนหลังให้คุณนู้นนะคร้าบ 😀
นวย
ขอบคุณครับสำหรับดาวดวงใหญ่ดวงนี้ครับ
แต่ไม่รู้ว่าคุณตาลจะอ่านไม่เข้าใจตรงไหนหรือเปล่า ผมว่าเหมือนผมอธิบายข้ามๆ ยังไงไม่รู้
มีจุดไหนสงสัย ถามได้นะครับ
นู้น
ผมอ่านแล้วก็เข้าใจดีนะครับ แต่ตรงวิธีลัดจะงงๆ หน่อย
นวย
จะลองอธิบายเพิ่มดูนะครับ
- การเลือกให้ตัวไหนเป็น u นั้น เลือกตัวไหนก็ได้ครับ หลักคือ ทำทีละตัว ผลจะเหมือนกันครับ
- ขั้น หา I นี่มาจากวิธีการคิดสมการเชิงอนุพันธ์แบบเชิงเส้นอันดับหนึ่งแบบไม่เป็นเอกพันธ์
คือ เราจะเอาชุดตัวเลขหน้า u เอาไปเข้าสูตร
$I = e^{\int {f(x)dx} } $
แล้วนำไปคูณตลอด จะทำให้ยุบเทอมได้เสมอครับ
- ขั้นอินทิเกรตฝั่งขวา
$\int {x^2 e^{3x} dx} $ ตัวนี้อินทิเกรตทีละส่วนครับ
โดยให้
$u = x^2 $ และ
$dv = e^{3x} dx$
จะต้องทำทั้งหมด 3 ครั้ง หรืออาจใช้ตารางช่วย ดังนี้ครับ
| $u$ | $dv$
|
+ | $x^2$ | $e^{3x}$
|
- | $2x$ | ${{e^{3x} } \over 3}$
|
+ | $2$ | ${{e^{3x} } \over 9}$
|
| 0 | ${{e^{3x} } \over 27}$
|
จะได้คำตอบโดยการคูณทแยงลง ดังนี้ครับ
$\int {x^2 e^{3x} dx} = x^2 \left( {{{e^{3x} } \over 3}} \right) - 2x\left( {{{e^{3x} } \over 9}} \right) + 2\left( {{{e^{3x} } \over {27}}} \right)$
ดีขึ้นไหมครับพี่นวย 😁
นู้น
ขอบคุณพี่นู้นมากนะคะที่สละเวลามาช่วยอธิบาย
ตอนนี้ไปหาหนังสือมาอ่านเพิ่มเติม เริ่มจะเข้าใจแล้วค่ะ
ขอบคุณมากค่ะพี่ๆทุกท่าน
ตาล