กำลังโหลด

    กระทู้ที่ 0445
บทความ#7 : ไปในทางที่ดี (2)
ตั้งกระทู้ใหม่

บทความ#8 : ไขข้อขัดข้องตอบ: 1, อ่าน: 1788

((รวบรวมคำถามที่น่าสนใจ จากแฟนเพจที่ facebook ซึ่งก็ยังคงถามได้เรื่อยๆ นะคร้าบ จะช่วยตอบอย่างเต็มที่เท่าที่ตอบได้ครับ ^ ^))

Q: พี่นวยครับ อยากทราบว่าตอนเอ็นท์พี่นวยอ่านหนังสือวันละกี่ ช.ม. อ่ะครับ

A: อ่านหนังสือวันละกี่ชั่วโมง ตอบไม่ถูกเหมือนกันนะครับ มันจะเป็นแบบว่า เมื่อถึงจังหวะต้องอ่านก็อ่านครับ คือจะมีจังหวะพัก เดินไปเดินมา กินข้าว ฟังเพลง ดูทีวี สลับๆ กันไปด้วยครับ.. ขอเล่าให้ฟังทีละขั้นๆ ละกันนะครับ
         ความเชื่อส่วนตัวของพี่นวยในตอนนั้นก็คือ ในการสอบที่มี 2 รอบ เราจำเป็นต้องเลือกวิชาที่จะเน้นเพียงรอบละ 2-3 หรือเต็มที่ไม่เกิน 4 วิชาครับ เพราะถ้าไปอ่านสะเปะสะปะ รวดเดียว 5-7 วิชา ผลก็คงออกมาปานกลางๆ เรี่ยๆ กันไปหมด ไม่มีวิชาไหนได้ดีแบบสบายใจไปเลย เทอมสองก็ต้องมาอ่านใหม่หมดอีก มันจะดึงเวลากันเองอีก แล้วคะแนนก็อาจจะออกมากลางๆ อีกครับ
         ตอนนั้นพี่นวยจึงเลือกว่า สอบครั้งแรก ต.ค. จะตั้งใจกับฟิสิกส์และเลขเป็นพิเศษ ซึ่งก็จะได้วิชา "ความถนัดวิศวะ" พ่วงไปด้วย เพราะคิดว่าสองวิชานี้พอจะถนัด คงทำคะแนนได้ง่ายกว่าอย่างอื่น (ส่วนวิชาเคมี ภาษาอังกฤษ ฯลฯ ที่เหลือจะเก็บไว้ค่อยเตรียมตัวเทอมสองครับ)

         การเตรียมตัวของพี่นวยคือ วิชาเลขเราตั้งใจเรียนในห้องอยู่แล้ว และอาจารย์ยังช่วยทบทวนบทเก่าๆ ให้ด้วย ก็เลยจะไม่เรียนพิเศษเพิ่มที่ไหน จะฝึกทำโจทย์เก่าเอาเอง ส่วนฟิสิกส์นี่ได้เกรด 2 มาตลอดทุกเทอมครับ ก็เลยไปเรียนคอร์สเอ็นท์กับสถาบันแห่งหนึ่ง (ที่เป็นพ่อลูกแปะมือกันสอน) ทำให้รู้ว่าหัวข้อทั้งหมดมีอะไรบ้าง และได้ทบทวนเนื้อหาเบื้องต้นครับ แต่สุดท้ายก็ต้องมาทำข้อสอบย้อนหลังเองอยู่ดี
         ซึ่งกว่าจะเริ่มลงมือฝึกจริงๆ ก็หลังสอบไฟนอลไปแล้วครับ มีเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ก็ลุยทำข้อสอบฟิสิกส์วันละ 2-3 ฉบับ และก็ทำข้อสอบเลขบ้างประปราย แต่เลขนี่ทำไม่ค่อยจบฉบับครับเพราะขี้เกียจ (และคิดเอาเองว่าคงไม่ได้เจอข้อสอบซ้ำแนวเดิม ไม่เหมือนฟิสิกส์ที่ทำไปมากๆ แล้วจะเห็นแนวทางชัดเจนว่าบทไหนเป็นอย่างไร) จนกระทั่งถึงวันสอบจริง ก็ฝึกฟิสิกส์ไปได้ประมาณ 10 ฉบับ ในขณะที่เลขทำไปได้ 2-3 ฉบับเองมั้งครับ แล้วก็ข้อสอบความถนัดวิศวะก็ฝึกไปเยอะเหมือนกันครับ (เพราะโจทย์ในนั้นส่วนมากเป็นฟิสิกส์)

Q: แล้วตอนนั้นพี่นวยได้คะแนนแต่ละวิชาเท่าไร อยากทราบจริงๆ จะได้นำไปใช้กับตัวเองครับ

A: สรุปคะแนนเอ็นท์ออกมาเวิร์คมาก คือได้เลข 84 ฟิสิกส์ 95 ความถนัดวิศวะ 60 กว่าครับ (จำตัวเลขไม่ได้แล้ว แหะๆๆ) ถือว่าสูงน่าพอใจมากๆ แล้ว ส่วนวิชาอื่นๆ ก็อาศัยความรู้เดิมที่พอจะมี บวกกับความรู้ ม.6 ที่เพิ่งเรียนสดๆ ก็ได้มาประมาณ 50 กว่าทุกวิชาครับ
         ซึ่งพอเฉลี่ยรวมกันทั้งหมด จะได้ประมาณ 73% แล้ว คิดว่าได้คณะที่ต้องการแน่นอนแล้ว (ช่วงนั้นคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 64% ครับ โชคดีจริงๆ อิๆๆ) เทอมสองพี่นวยก็เลยเที่ยวเตร่เฮฮาไม่ตั้งใจสอบแล้วครับ ไปทำคะแนนได้น้อยลงหมดทุกวิชาอีกต่างหาก และมีวิชานึงป่วยด้วยครับ ไม่ไปสอบ เลยได้ 0 มาครอบครองเป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์ตระกูล :P
       จะเห็นว่ากลยุทธ์การเลือกวิชาที่ถนัดมาสอบก่อน และเอาวิชาที่ไม่ถนัดไปไว้ทีหลังนั้น ใช้ได้ผลกว่าที่คาดครับ จึงกลายเป็นตั้งใจสอบแค่รอบเดียวซะงั้น (จนบัดนี้ความรู้เคมีเลยไม่ค่อยมี ด้วยเหตุนี้ล่ะครับ อิๆๆ)

Q: เวลาฝึกข้อสอบเก่า ผมเฉลี่ยแล้วไม่เคยเกินช่วง 50-60 เลยสักวิชา ชักเหนื่อยอ่ะครับ ยิ่งข้อสอบ PAT1 เดี่ยวนี้ยิ่งหนักเลย มีอะไรดีๆ แนะนำบ้างครับพี่

A: น้องทำได้ 50-60 ทุกวิชาก็ถือว่าเวิร์คแล้วนะครับ (เข้าได้เกือบทุกคณะแล้ว) โดยเฉพาะ PAT1 ตอนนี้ ถ้าให้พี่นวยไปนั่งทำในห้องสอบ 3 ชั่วโมง ก็อาจจะได้ไม่ถึง 84 ด้วยครับ เพราะพลิกแพลงกว่าเดิมมากๆ
         เอาเป็นว่าฝึกทำข้อสอบเยอะๆ ดีแล้วครับ เตรียมตัวมาถูกทางแล้วครับ แต่วิชาฟิสิกส์ยิ่งทำต้องยิ่งได้เยอะขึ้นนะครับ น่าจะไปจบที่ 70 ได้นะครับ จึงจะถือว่าเข้าใจจริงๆ (ส่วนเคมี และวิชาอื่นๆ ไม่รู้จริงๆ ครับ ^ ^")

Q: ผมเคยถามพี่เรื่องว่า จะตัดตรีโกณ จำนวนเชิงซ้อน เวกเตอร์ดีไหม แต่ตอนนี้ผมอุดรอยรั่วทุกบทเรียบร้อยแล้ว แต่พอมาเจอ PAT1 สมัยนี้ ผมก็ท้อครับ
         ปกติทำเอ็นท์เรียงปีมาเรื่อยๆ มันก็ออกแนวคล้ายๆ กันนะครับ แต่พอเจอ PAT1 ตุลา มีนา ที่ผ่านมา มันออกแนวหลุดไปเลยอ่ะครับ ข้อสอบเยอะ ยาก และ 3 ช.ม. มันก็นานไป ล้าเลยอ่ะครับ แล้วก็ทำไม่ทันอยู่ดี
         แล้วอย่างนี้เราจะฝึกกับโจทย์แบบไหนดีอ่ะครับ แบบเอ็นท์ปีเก่าๆ ยังได้อยู่เหรอครับ


A: สำหรับพี่นวย ข้อสอบ PAT1 ใหม่ๆ จะเป็นตัวฝึกให้เรามองความรู้ที่เรามีในมุมอื่นครับ จากที่เคยฝึกเอ็นท์เก่าที่มันจะคล้ายๆ กันซะมาก พอมาเจอ PAT1 ทำให้เราแตกฉานไปกว่าเดิมครับ อันนี้เป็นข้อดี แต่การจะคิดเองได้ก็ต้องเข้าใจลึกจริงๆ หรือเห็นโจทย์มาเยอะมากจริงๆ
         ซึ่งข้อสอบลักษณะนี้ถ้าทำได้ไม่หมดอย่าท้อนะครับ ทำให้ได้มากที่สุดก็พอ เพราะแค่นี้เราก็ทำได้มากกว่าคนอื่นๆ แล้วครับ อยากให้มีกำลังใจครับ ^ ^

Q: นี่ถ้าไม่ได้ตารางคะแนนย้อนหลัง ตอนทำ 15 พ.ศ. คงเบื่อ เพราะทำไปก็ไม่รู้ว่าเราเจ๋งแค่ไหน ผมชอบมากเวลาทำเสร็จแล้วตรวจช่วงคะแนน ความรู้สึกเหมือนเราได้สอบจริงๆ ขอบคุณมากๆ ครับพี่
         ว่าแต่พี่นวยเอ็นท์ตอนปีไหนอ่ะครับ ผมจะไปทำปีนั้นดู ว่าตอนนี้ผมห่างชั้นกับพี่นวยตอนนั้นแค่ไหน 555


A: ตุลาคม 2541 ครับ แต่ระวังข้อสอบที่เคยเห็นมาก่อนแล้วสปอยล์เราด้วยนะครับ

Q: พี่นวยทำมาตรฐานไว้ซะสูงเชียว สปอยล์หน่อยก็ดีครับ จะได้ดูสูสีมีกำลังใจหน่อย 5555

A: 555 ไม่ได้หมายถึงอย่างงั้นคร้าบ ได้มากกว่าพี่นวยก็ดีแล้วครับ ตอนนั้นพี่นวยก็เป็นเด็ก ม.6 ธรรมดาๆ (ที่หน้าตาดี) คนหนึ่ง ฮ่าๆๆ
         แต่ที่ว่าระวัง spoil หมายถึงว่า เราจะเอาข้อสอบที่เคยเห็นบางข้อแล้วมาวัดคะแนนไม่ได้เด็ดขาดเลยครับ เดี๋ยวตอนสอบจริงได้คะแนนลดลงแล้วจะเศร้านะ ศิษย์พี่นวยเคยเจอมาครับ ^ ^

Q: หากมีเวลา 10 วันในการอ่านคณิตตั้งแต่ ม.4 - ม.6 พี่คิดว่าจะอ่านจบไหมครับ (ถ้าไม่จบก็จะไม่อ่าน) คืออีก 23 วันจะสอบรับตรง ผมว่าจะแยกเป็นคณิต 10 วัน ฟิสิกส์ 10 วัน อีก 3 วันอ่านเคมีครับ

A: เรื่องนี้มันก็ตอบแทนยากนะครับ
         คือในเวลาสิบวัน บางคนอ่านจบ บางคนอ่านไม่จบ บางคนอ่านตะพึดตะพือแต่ไม่ยอมทดอะไรเลย ขณะที่บางคนไม่ต้องทวนมาก แต่ก็ยังทำเป็น ฯลฯ คงอยู่ที่ตัวน้องแล้วล่ะคร้าบว่าจะลุยหรือจะถอยดีกว่ากัน (แต่ที่ว่าถ้าไม่จบก็จะไม่อ่านไม่น่าจะดีนะครับ มีเวลาเท่าไรก็เตรียมไปเท่านั้นดีกว่าครับ ยังพอได้คะแนนบ้าง)
         ถ้าเป็นพี่นวยเอง เหลือสิบวันก็คงจะฝึกทำข้อสอบเก่าแล้วครับ แล้วพอเจอข้อไหนที่รู้สึกว่ายังไม่ค่อยแม่น ก็ย้อนไปทำความเข้าใจเฉพาะเรื่องนั้นๆ คร้าบ
         ส่วนเรื่องการแบ่งจำนวนวันตามที่บอกมา ลองเป็นแบบนี้ไหมครับ คณิตกับฟิสิกส์ ทีละครึ่งวันตลอดทั้ง 20 วัน น่าจะมีประสิทธิภาพกว่าคร้าบ :]

Q: พี่นวยช่วยด้วยค่ะ ใกล้สอบ GAT-PAT แล้ว แต่ตอนนี้อ่านเลขไม่ทัน
         มีบทที่ยังไม่แน่นเลยคือ ภาคตัดกรวย ตรีโกณ เชิงซ้อน สถิติ นอกนั้นพอไหวค่ะ แต่ยังไม่ถึงกับแม่น (ทำย้อนหลังไปประมาณ 3 พ.ศ. แล้วคะแนนออกมาไม่ดี รู้สึกยังลืมในบางเรื่องจึงกลับมาทวนก่อน) ส่วนฟิสิกส์หนูเหลือพวกเรื่องก๊าซ คลื่น แสง เสียงค่ะ จะเข้าวิศวะคอม ต้องใช้ PAT3 60% กับ PAT1 20%


A: ถ้าสัดส่วนแบบนี้ พี่นวยว่าแบ่งเวลาไปเตรียมตัววิชาฟิสิกส์เยอะหน่อยก็ดีจ้ะ เพราะน่าจะได้คะแนนคุ้มเวลากว่า คือมีโอกาสได้คะแนนเอ็นท์สูงกว่าวิชาเลข แต่มันก็อยู่ที่ความถนัดส่วนตัวของน้องด้วยนะจ๊ะ ว่าวิชาไหนจะสปีดได้เร็วกว่ากัน (ซึ่งคนส่วนมากจะเป็นฟิสิกส์ รวมทั้งพี่นวยสมัยเอ็นท์ก็ด้วย)
         ส่วนวิชาเลขเนี่ย ข้อสอบเก่าแต่ละฉบับมันมีความยากง่ายต่างกันมาก อาจจะใช้วัดผลตัวเองไม่ค่อยแม่นเท่าไหร่ โดยเฉพาะตอนเปลี่ยนเป็น PAT ยิ่งไปกันใหญ่ ลองทำอีกหลายๆ ฉบับกว่านี้ดูก่อนนะจ๊ะ (หรือว่าเพื่อไม่ให้ท้อ ลองเอาฉบับที่พี่นวยสอบมาทำดีกว่า ฉบับนั้นง่ายเป็นประวัติการณ์เลย อิๆๆ ฉบับตุลา'41 นะ)

         การสอบครั้งนี้อย่าเพิ่งกลัวว่าข้อสอบจะยากจนทำไม่ได้ เพราะว่ามันก็ยากสำหรับทุกคนใช่ป่ะครับ คนออกข้อสอบเค้าไม่ได้ตั้งใจจะให้เราทำให้ถูกหมด แต่เป็นการวัดแค่ว่าใครได้คะแนนมากกว่าเพื่อน ก็จะได้คณะที่ชอบไปก่อน.. ซึ่งที่จริงได้คะแนนแค่ 50-60% ก็น่าดีใจมากๆ แล้วจ้ะ ติดวิศวะแล้ว (แต่วิชาอื่นก็ต้องดีด้วยนะ 555)
         อีกอย่างนึงเกือบทุกคนในประเทศก็ทำไม่ได้เหมือนเรานั่นแหละ ฉะนั้นเตรียมฟิตให้ดีที่สุดเท่าที่ตัวเราในตอนนี้จะทำได้ แล้วที่เหลือก็ต้องรอผลเอาแหละเนาะ
         ได้ยินข่าวมาว่าคณะวิศวะจะใช้คะแนนรอบเดียวเท่านั้น ยังไงก็ขอเอาใจช่วยให้ทำให้เต็มที่ จะทันไม่ทันก็เอาเท่าที่เราไม่เสียใจก็พอแล้วจ้ะ คิดแบบนี้จะได้ไม่เครียดมาก ^ ^

Q: ว่าแต่พี่นอนดึกเหมือนกันนะครับ.. นึกได้พอดี พี่คิดว่าอ่านหนังสือตอนดึกๆ นี่ จะทำให้เราความจำไม่ดีไหมครับ แล้วตอนเอ็นท์พี่นอนดึกไหม

A: ตามหลักถ้านอนเร็วแล้วตื่นมาอ่านตอนเช้าแทน จะมีสมาธิและจำได้ดีกว่านอนดึกตื่นสายครับ แต่ในทางปฏิบัติพี่นวยไม่เคยทำได้เลยครับ นอนดึกตลอด เพราะทำใจให้หลับโดยที่ยังไม่ได้อ่านอะไรเลยไม่ได้ 555
         รู้สึกจะเคยลองครั้งนึงตอนอยู่ ม.ปลาย เข้านอนหัวค่ำแล้วตื่นมาตี่สี่ มานั่งอ่านฟิสิกส์ เป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่มากครับ แต่ก็สรุปไม่ได้อยู่ดีว่ามันดีกว่าจริงหรือเปล่า :P

         แต่สมัยเรียนที่ว่านอนดึกก็ไม่ดึกมากนะครับ ประมาณเที่ยงคืนถึงตีสองเท่านั้น เพราะยุคนั้นตีสองก็คือสุดๆ แล้วครับ (ไม่มีรายการทีวีดู ไม่มีเพื่อนคุยในเน็ต) ส่วนเดี๋ยวนี้นอนตีสี่ ตื่นเที่ยง ตลอดเลยครับ ซึ่งมันเสียสุขภาพมาก (ยังดีที่ได้นอนครบ 8 ชั่วโมง) พยายามจะปรับเวลาใหม่มาเป็นไม่เกินตีสองแล้วตื่นสิบโมงแทนแล้วครับ
         การนอนดึกบ่อยๆ จะทำให้ความจำไม่ดีหรือไม่ อันนี้ส่วนตัวพี่นวยคิดว่า ดึก-ไม่ดึก ไม่มีผลกระทบรุนแรงเท่ากับ พอ-ไม่พอ นะครับ เพราะถ้านอนไม่พอเนี่ย ความจำไม่ดีแน่นอนคร้าบ ^ ^
นวย 02/11/54 13:46 
แอบอยากแจมด้วย ^^

สมัยเอ็นท์มัวแต่ขี้เกียจๆ ลั้นลาๆ อยู่ค่ะ  รู้ตัวอีกที อ้าว..สอบปลายภาคเสร็จแล้ว อีก 2 อาทิตย์สอบ ยังไม่ได้เริ่มเลย +_+

เลยแทบไม่ได้อ่านอะไรเลยค่ะ กะว่าช็อตนี้คงอ่านไม่ทันแล้ว อัดโจทย์เลยละกัน เลยนั่งทำแต่ข้อสอบมันทั้งวัน ทุกวันเลย (โชคดีที่ตอนเรียนพิเศษอ.สอนดี + เราเข้าใจไปเยอะแล้ว เลยตะลุยโจทย์ได้เลย) แล้วก็ไปสอบ.. สอบด้วยอารมณ์แบบ..เอาวะ อย่าไปกลัว ทำไม่ได้ก็จะมั่วให้ถูก สอบๆ ไปก่อน เดี๋ยวรอบหน้าจะตั้งใจ  แต่โชคดีที่คะแนนออกมาโอเค รอบเมษาก็เลยไม่ค่อยตั้งใจตามเคย ...แป่ว!

แล้วก็รู้สึกว่า ตั้งแต่เอ็นท์ติดมา ก็ยังไม่เคยขยันได้เท่า 2 อาทิตย์นั้นอีกเลย ไม่ว่าจะสอบป.ตรี ป.โท เรียกว่ายิ่งแก่ยิ่งขี้เกียจเลยแหละ - -"
Shauฯ(6)  02/11/54 16:25  [ 1 ] 
วิธีพิมพ์สมการดูได้ที่กระทู้ 0072 ครับ      
แปะรูป/ไฟล์
ถ้าไม่มีรหัสส่วนตัว กรุณาใส่เลขหน้า "ความน่าจะเป็น" ใน Math E-Book .. หรือตั้งรหัสได้ ที่นี่

ทดลองพิมพ์สมการ